บล็อกถือมาเป็นคู่แข่งหนังสือ อย่างเต็มตัว แล้วดูท่าว่าจะเอาชนะหนังสือได้ไม่ยาก ในปัจจุบันคนนิยมหาข้อมูลความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตอยากรู้ อยากเห็น อะไรก็ถาม อากู๊ ลุงยู กันได้ ไม่ต้องลำบากลำบนแบกหนังสือเป็นตั้งๆ กว่าจะได้คำตอบอะไรสักอย่างกินเวลาทำมาหากินไปนาน ทุกวันนี้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไอแพด แท็บเลท เข้ามาปฎิวัติการอ่านหนังสือแบบเดิมๆ สะหมด นิตยสารหลายเล่มปิดตัวลงเพราะคนสมัยนี้ไม่ซื้อหนังสืออ่าน แต่กับเกิดอาชีพใหม่ คนรับเขียนบทความ บริษัทรับทำ SEO เจ้าใหญ่ๆ หลายเจ้าที่ต้องใช้บริการรับเขียนบทความ สำหรับทำ SEO บทความสดใส พร้อมคีรย์เวิร์ค กลายเป็นผลงานที่สร้างข้อมูลไม่น้อย ไม่ต้องตีพิมพ์ให้ยุ่งยาก เปลืองหมึก เพียงแค่พิมพ์ต๊อกแต๊ เสร็จอัพโหลดลงเว็บ ใช้เวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมงก็เสร็จแล้ว แถมยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อ่านได้อีกด้วย ได้ฟิตแบล็กกลับอีกตั้งหาก
บางคนยังแยกแยะไม่ออกระหว่างบล็อกกับเว็บไซต์ว่ามันต่างกันอย่างไร มองง่ายเลย คือ การนำเสนอที่ต่างกัน บล็อกจะมีรูปแบบการนำเสนอเป็นบทความ วัตถุประสงค์ คือ ให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราว สื่อสารทางภาษาในเชิงสนทนา ส่วนเว็บไซต์เราจะทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำเสนอข้อมูลทางธุรกิจมากกว่า ส่วนใหญ่บนเว็บไซต์มักจะมีเมนู Blog เพื่ออัพเดทความรู้ หรือเป็นเชิงบอกเล่าเรื่องราว โปรโมทแนะนำ รีวิว สินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยเรียกความสนใจจากผู้เข้าชมเว็ปไซต์ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น
หลายคนเขียนบทความเพื่อประโยชน์และวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป บางคนเขียนบล็อกเพื่อ บอกเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว บางคนใช้บล็อกในการแชร์ประสบการณ์ ความรู้ บางคนใช้บล็อกในการทำอันดับบน Google หรือที่เราคุ้นหูกันว่าการทำ SEO ให้ติดหน้าแรก Google บางคนใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับสร้างรายได้ โปรโมท แนะนำ สินค้าหรือบริการ
อย่างที่เรากล่าวมากข้างต้นนี้ ที่บอกถึงวัตถุประสงค์ที่ต่างกันให้การใช้บล็อก ฉะนั้นก่อนที่เราจะเขียนบทความเพื่อลงบล็อกเราก็ควรจะรู้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ต้องการก่อนว่าบล็อกนี้เขียนเพื่ออะไร ถ้าต้องการที่จะให้ความรู้ บทความนั้นต้องเขียนในเชิงที่อ่านแล้วดูน่าเชื่อถือ อาจจะต้องมีข้อมูลมาซับพอร์ต เพื่อให้บทความดูมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษากึ่งทางการ ไม่ใช้ภาษาที่เป็นกันเอง เพราะจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ บทความไร้น้ำหนัก หรือควรมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อเพิ่มน่าเชื่อถือ หรือสร้างความน่าเชื่อถือจากตัวผู้เขียนที่มีความรู้ในเรื่องนั้นจริงๆ ในทางกลับกันการให้ความรู้ ในเชิงแชร์ประสบการณ์ในรูปแบบของการรีวิว หรือการเขียนบทความบนเพจเฟสบุ๊ค เนื้อหาสาระ การใช้ภาษาจะให้ความเป็นกันเอง อ่านแล้วเข้าใจง่าย ใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ ลักษณะเชิงสนทนา อาจจะเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่อีโมติคอน หรือพวกมุขตลก คำอุทาน แทรกในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านมีอรรถรสร่วมด้วยในการอ่าน
และถ้าคุณต้องการจะเขียนบล็อกเพื่อสร้างรายได้ Content ที่คุณเขียนจะต้องสร้างความน่าสนใจ เพื่อสร้าง Traffic ให้มีคนเข้ามาอ่าน จากนั้น หารายได้จาก Adsense หรือ Affiliate Marketing หรือ ติด Banner โฆษณา หรือ ช่องทางอื่นๆ นี่เป็นเป้าหมายที่นิยมในหมู่ของคนที่ต้องการหารายได้จากอินเตอร์เน็ต และสำหรับการเขียนบล็อกเพื่อการทำ SEO นั้นก็คล้ายๆ ลักษณะเดียวกับการเขียนบทความเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เนื้อหาเข้าใจง่าย จัดเรียงให้ดูสวยงามเป็นระเบียบ เน้นคีรย์เวิร์คที่เราต้องการ โดยการใส่คีรย์เวิร์คต้องทำให้ดูเป็นธรรมชาติ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อความ ไม่เด่นจะเกินไป ไม่มากจนเกินไป และบทความนั้นต้องมีประโยชน์กับผู้อ่าน สดใหม่ สดใหม่ในที่นี้คือ ต้องเขียนใหม่ไม่ไปก๊อปปี้บทความชาวบ้านมา เพราะหลักการของ Google คือจะไม่ดันบทความที่มีเนื้อหาซ้ำกันขึ้นหน้าเดียวกันเป็นอันขาด เพราะถ้าผู้อ่านเจอแต่บทความซ้ำๆ อาจจะส่งผลที่ทำให้ผู้อ่านเลือกที่จะย้ายไปค้นหาข้อมูลจากเว็บคู่แข่งแทน
บทความนี้ น่าจะช่วยทำให้ท่านเข้าใจถึงการเขียนบล็อก / การเขียนบทความ ให้มีคุณภาพ ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสำหรับท่านใดที่มีความสนใจอยากทำ SEO ต้องการให้เว็บไซต์/ บล็อก ขึ้นอันดับบน Google หรือสนใจทำโฆษณา Google Adwords เราขอแนะนำ Marketing Bangkok ที่นี่เขาเป็นผู้นำด้านการทำ SEO และการตลาดออนไลน์อื่นๆ ครบเครื่องเรื่องมีเดีย วิเคราะห์เจาะลึกก่อนการทำงาน ท่านใดที่สนใจสามารถเข้าไปดูตัวอย่างผลงานหรือข้อมูลการให้บริการได้ที่ https://goo.gl/8eUoFR